วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

social network กับนักเรียนและสังคมไทย

                   Social Network เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสังคมไทยอย่างไรบ้าง



ในปัจจุบัน เด็กรุ่นใหม่คงไม่มีใครไม่รู้จัก Facebook, Twitter หรือถ้าเป็นเมื่อก่อนก็ Hi5 เพราะกระแส Social Network ในสังคมโลกกลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในกระแสเลือดของกลุ่มคนที่มีอายุ 10 กว่าจนถึง 40 ปีไปแล้ว ดังนั้นในบทความนี้ผมจะไม่ขออธิบายว่า Facebook หรือ Twitter คืออะไร เพราะคิดว่าหลายคนอาจะรู้จักสื่อเหล่านี้มากกว่าผมด้วยซ้ำ แต่หากจะแสดงความคิดเห็น ทัศนะคติ และ วิเคราะห์ต่อว่า เราจะสามารถใช้ประโยชน์จากสื่อเหล่านี้ได้อย่างไรให้มีประโยชน์ต่อสังคมไทยสูงสุด


ธุรกิจ
จากการที่ผมไปหาข้อมูลมาเพิ่มเติม รู้หรือไม่ว่า ทั่วทั้งโลกมีคนใช้ Facebook จำนวน 400 ล้านกว่าคน ซึ่งถ้าเปรียบเป็นประเทศประเทศนึงแล้ว ถือว่า Facebook เป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆของโลก หลายคนใช้เวลากับ Facebook มากมาย หลายคนถึงขั้นเสพติด หลายคนถ้าไม่ได้เข้าวันไหนจะเข้าขั้นลงแดง หงุดหงิดเลยทีเดียว เมื่อมีสมาชิกมากและเป็นที่นิยมมากขนาดนี้ก็เป็นที่สังเกตุได้ว่า "สินค้าหลากหลายชนิดกระโดดมาใช้สังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือ" นั่นเพราะจำนวนสมาชิกที่มากมายอาจจะทำให้สินค้านั้นเป็นที่รู้จัก (ในกลุ่มเป้าหมาย) มากกว่าการลงโฆษณาผ่านสื่ออื่น และให้ผลตอบรับที่ดีกว่าโดยไม่ต้องเสียเงินซักบาทเลยด้วยซ้ำ เพราะอะไรล่ะ ทำไมถึงให้ผลตอบรับที่ดีกว่า นั่นเพราะ Social Network ได้ส่งผลอย่างมากต่อกลุ่มคนซึ่งเป็นผู้บริโภคครับ แล้ว Social Network ส่งผลอย่างไรต่อผู้บริโภคมั่งล่ะ คงจะปฏิเสธไม่ได้ใช่มั้ยครับว่า หากท่านจะซื้อโทรศัพท์มือถือหรือสินค้าใดสักชิ้น โดยรับสารเพียงแค่โฆษณาจากเจ้าของผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียว ท่านคงจะไม่สบายใจหรือยังไม่มั่นใจในการตัดสินใจซื้อสิ้นค้านั้น เพราะท่านไม่เชื่อเจ้าของสินค้าครับ ท่านเชื่อเพื่อน ตรงจุดนี้ Social Network หรือแม้แต่ Discussion Forums เช่น Pantip.com หรือการทำ Fansite ผ่าน Facebook ก็กลายมาเป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลอย่างมากต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าซักตัวหรือแม้กระทั่งการโปรโมตสินค้า หรือดาราคนโปรด หากกระแสของสินค้าตัวนั้นผ่านทาง Social Network ออกมาไม่ดี ท่านก็อาจจะเปลี่ยนใจทันทีโดยที่ยังไม่ได้ฟังคำโฆษณาของเจ้าของผลิตภัณฑ์เลยด้วยซ้ำ นั่นเพราะ "กลยุทธ์ปากต่อปาก" ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติตัวหนึ่งของ Social Network นั่นเองครับ

การศึกษา
เรื่องต่อมาที่ผมอยากจะนำเสนอคือเรื่อง การใช้ประโยชน์จาก Social Network กับระบบการศึกษาไทยครับ มีความจริงอยู่เรื่องนึงที่เป็นปัญหากับระบอบการศึกษาไทยมาเป็นเวลาช้านาน (เป็น Thailand Only อย่างนึง) แล้วก็คือ เด็กไทยไม่กล้าถาม ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น (แต่กล้าทวีต) ถ้าเป็นอย่างนั้นส่วนตัวผมคิดว่าน่าจะมีการทดลองนำเอา Twitter มาประยุกต์กับระบบการศึกษาของไทยคงจะดีไม่น้อยใช่มั้ยครับ หรือการใช้ Social Network เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กไทย ยกตัวอย่างเช่นมีรุ่นน้องของผมคนนึงพยายามสร้างสังคมออนไลน์ขึ้นมาเพื่อส่งเสริมระบบการศึกษาไทย ส่งเสริมให้เด็กไทยเขียนบทความกันมากขึ้น หรือมีการรวมกลุ่มเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ผ่านทาง Social Network (http://do.in.th/) นี้ ซึ่งเป็นไอเดียที่แจ่มแมวและเป็นที่น่ายินดีของประเทศไทยที่มีเด็กที่มีความสามารถและเสียสละเพื่อพัฒนาระบบการศึกษาหรือแม้แต่สังคมไทยต่อไป ขอปรบมือให้ครับ

ศาสนาและวัฒนธรรม
ปัจจุบันคนไทยเข้าวัดกันน้อยลงมาก แต่ก็ยังดีที่มีการใช้ Social Media มาช่วยจึงทำให้ศาสนาไม่หายสาปสูญไปเร็วนัก ยกตัวอย่างเช่น มีการใช้ Facebook เพื่อเผยแพร่บทความหรือคำพูดที่ให้ข้อคิดจาก ท่าน ว.วชิระเมธี หรือถ้านำไปคิดต่อ ในอนาคตเราอาจจะใช้ Social Network ในการเผยแพร่คำสอน ตอบคำถามทางศาสนา หรือ ส่งเสริมให้คนไทยทำดีผ่านทาง Social Network แต่ไม่ได้หมายความว่าให้พระมาเล่น Facebook นะครับ (อย่างงั้นผมคงโดนประณามแย่) ผมหมายถึงให้กลุ่มคนที่ตั้งใจจะรักษาศาสนาหรือวัฒนธรรมออกมาสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ในแง่ศาสนา เช่น เอาคำสอนมาแปลหรือส่งเสริมให้มีการทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมร่วมกันเพื่อเป็นการผลักดันให้สังคมไทยในยุค Post Modern ใกล้ชิดกับศาสนาและวัฒนธรรมอันดีมากยิ่งขึ้นครับ

สังคม
ถ้าท่านจะสร้างกระแสสังคมสักเรื่อง Social Network ก็ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำคัญในการดำเนินงาน อย่างที่เราเคยเห็นเป็นตัวอย่างมามากมายในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น การรวมกลุ่มเสื้อหลากสี (ไม่อยากเอาเรื่องนี้มาพูดเท่าไหร่เลย ฮ่าฮ่า) หรือ การรวมกลุ่มเรารักในหลวงที่เป็นที่โด่งดังมาแล้ว ดังนั้นจะเป็นการดีมากถ้าสังคมไทยจะสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นโดยใช้เครื่องมือที่ทรงพลังนี้เป็นหนึ่งในแรงผลักดันที่สำคัญ ผมจะลองยกตัวอย่างให้ฟัง สมมุติว่าผมอย่างจะสร้างโครงการปลูกป่า เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มวัยรุ่นอายุประมาณ 15-25 ปี ท่านคิดว่าระหว่างการใช้ Social Network หรือการลงผ่านสื่อหนังสือทั่วไปจะได้ผลมากกว่ากัน แค่นี้ก็สามารถเป็นคำตอบได้แล้วครับว่า Social Network มีผลกระทบต่อสังคมไทยมากขนาดไหน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก:http://holycamp.blogspot.com/2010/04/social-network.html



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น